เว็บไซต์นี้ใช้งานระบบคุกกี้เพื่อประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ ข้อมูลจะถูกเก็บไว้บนเบราเซอร์เพื่อใช้สำหรับฟังก์ชั่นต่างๆและช่วยเราให้ทราบข้อมูลของท่านจากการใช้งานครั้งก่อน
หลายคนอาจจะมีข้อสงสัยหรือสับสน ระหว่างวีซ่าและหนังสือเดินทาง (Passport) ว่ามันคืออะไร แตกต่างกันอย่างไร วันนี้เราจะมาให้ความรู้ เพื่อให้คุณเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้มากยิ่งขึ้น
หนังสือเดินทางหรือที่เราเรียกกันว่า พาสปอร์ต เป็นเอกสารที่ใช้ในการระบุตัวบุคคล สำหรับไว้ในการเดินทางไปต่างประเทศ โดยในเล่มจะมีข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ-นามสกุล วันเดือนปีเกิด จังหวัดที่เกิด เพศ และสัญชาติ เป็นต้น โดยปกติแล้วประชาชนโดยทั่วไปจะสามารถทำได้แค่หนังสือเดินทางธรรมดา ซึ่งก็คือ หน้าปกสีแดงเลือดหมู โดยสามารถใช้งานได้ สำหรับท่องเที่ยว ไปเยี่ยมเยือนญาติ หรือศึกษาต่อต่างประเทศ ซึ่งสำหรับกรณีไปเรียนต่างประเทศจะต้องขอวีซ่าเพื่อการศึกษาโดยเฉพาะ ชาวต่างชาติหรือพวกต่างด้าวก็จะต้องทำหนังสือเดินทางด้วยเช่นกัน ก่อนที่จะเข้าประเทศไทย แต่ไม่สามารถใช้ทำงานได้เนื่องจากมันผิดกฏหมาย และหากหนังสือเดินทางใกล้หมดอายุหรือว่าเหลือไม่ถึงหกเดือน ก็จะไม่สามารถใช้เดินทางไปไหนได้แล้วเช่นกัน
วีซ่า (Visa) ในที่นี้จะหมายถึงหลักฐานในการอนุญาตเข้าประเทศที่ทำเป็นรอยตราประทับหรือที่เป็นแผ่นกระดาษสติกเกอร์ติดอยู่ในหนังสือเดินทาง (Passport) แต่ก็มีข้อยกเว้นในบางประเทศที่ได้ทำข้อตกลงกับประเทศนั้น ๆ จึงทำให้ไม่ต้องขอวีซ่าระหว่างประเทศหรือบางประเทศอาจจะยกเว้นโดยจะอนุญาตให้คนสัญชาติอื่น ๆ เดินทางเข้าประเทศได้โดยไม่ต้องขอวีซ่าเลยก็ได้
ออกให้สำหรับประชาชนทั่วไป หนังสือเดินทางมีอายุไม่เกิน 5 ปี
หนังสือเดินทางมีอายุไม่เกิน 5 ปี ผู้ถือต้องใช้ในราชการเท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้ในการเดินทางส่วนตัว
หนังสือเดินทางมีอายุไม่เกิน 5 ปี เดินทางได้ไม่ต้องขอวีซ่า 86 ประเทศ
หนังสือเดินทางชั่วคราวที่ได้รับอนุญาตให้เดินทางไปต่างประเทศ มีอายุไม่เกิน 2 ปี